ภาพจาก internet |
นานๆ จะเขียนอะไรที่มีประโยชน์กะเค้าบ้าง
จะถึงเทศกาล ลอยกระทง วันพ่อ ปีใหม่
เทศกาลที่ผมพูดผ่านไปนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือพลุ
มือใหม่หลายๆคน รวมถึงตัวผมในอดีตที่เคยผิดพลาดมา
พลุ นี่จะต้องถ่ายกลางคืนใช่ใหม่ครับ ผมถ่ายพลุครั้งแรก กับกล้องฟีลม์ ซึ่งไม่รู้หรอกว่าภาพออกมาเป็นอย่างไรหลังจากต้องล้างออกมาเพื่อจะเห็น ในความคิดที่ใสซื่อครับ ตามหลักการทื่อๆที่ไม่มีผู้สอน กลางคืน f (รูรับแสง) ต้องกว้างเข้าไว้ แล้วโฟกัสอะไรที่ไหน ถ่ายตอนไหน เดาล้วนๆ สรุป เละ 555 นั่นละคือประสบการณ์ชั้นดีของผมเลยก็ว่าได้
หลังจากเข้าสู่ยุคดิจิตอล ตอนนั้น มีงานย่าโม แล้วชวนไปถ่ายพลุกัน ก็ติดสอยให้ตามไปด้วย กล้องดิจิตอลก็ยังไม่มีกับเค้า ยืมกล้อง DSLR-Like ของพี่ที่รู้จักกันไป ขาตั้งก็ไม่มี ก็ไปหายืมเอาข้างหน้า คือ ใจอยากถ่าย แต่ไม่มีอุปกรณ์อะไรเลยในตอนนั้น แล้วผลก็ออกมา
คือ ในตอนนั้น photoshop ก็ใช้ไม่เป็น (จริงๆ ถึงตอนนี้ก็ใช้ไม่เป็น) กล้องที่ผมนำไปด้วยนั้น ไม่มีสายลั่นชัตเตอร์ ไม่มีโหมดชัตเตอร์ B ดังนั้น เทคนิคบ้านๆ คือ ใช้ผ้าปิดหน้ากล้องซะ แล้วเปิดชัตเตอร์ที่ 30 วินาทีไว้ ก็ได้เห็นตามภาพ
ผ่านหลังจากงานแรก มาได้ครึ่งปี ศึกษาวิธีการถ่ายให้กระจ่าง ซึ่งพอจับใจความได้ดังนี้ (เป็นประโยชน์สำหรับมือใหม่ครับ)
- ทำเล ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ครั้งแรกที่ถ่ายงานย่าโม อยู่ที่ดาดฟ้าตึกสูง 9 ชั้น ถ้าจำผิดขออภัย มุมนี้ ไม่มีใครมายืนบังแน่นอน
- ต้องรู้ว่า พลุจะขึ้นมาจากทางไหน อันนี้ก็สำคัญ ปักหลักสุ่มสี่สุ่มห้า พลุยุงด้านหลัง ทำอย่างไร ไม่ได้ภาพสวยๆแน่นอน
- ให้ถ่ายได้แต่พลุชุดแรกๆ อ้าว แล้วถ้าชุดหลังสวยกว่าละ ปัญหามันไปอยู่ที่ควันครับ ยิ่งยิงพลุไปเท่าไร ควันมากขึ้นเรื่องๆ ถ้าทำเลที่จั้งอยู่ใต้ลมละเอ้ย จบเห่ครับ
- เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็น สายลั่นชัตเตอร์ แบต เมม (พวกนี้ไม่ต้อบอกน่าจะรู้) ส่วนอย่างอื่นก็มี ข้าวกล่อง น้ำเปล่า ยาทากันยุง เสื่อ หมอน (หลังๆมาแล้วแต่ศรัทธา) ในการไปรอนี่ เราปักทำเลก่อน ได้เปรียบ เพราะ ไม่ได้มีแค่คุณคนเดียวเท่านั้นที่ไปถ่าย
- อย่าไปคนเดียว ในการถ่ายพลุ หาเพื่อนไปด้วยครับ ทรัพย์สินอันมีค่าของคุณจะได้มีคนช่วยดูแล
- มาถึงการปรับแต่งกล้องก่อนถ่ายกัน
- ถ่ายไฟล์ RAW ครับ ถึงชื่อจะบอกว่ารอ แต่ก็คุ้มกว่าแน่นอนในภายหลัง
- ตั้งมุม ตั้งกล้อง เช็คระบบต่างๆไว้รอได้เลย
- W/B หรือค่าสมดุลแสงขาว ตามที่ศึกษามาอย่างดี Daylove เอ้ย Day Light ดีที่สุดครับ สีจะตรง
- ค่า f หรือค่ารูรับแสง อันนี้อาจจะขัดกับคอมมอนต์เซนต์นิดหน่อย ให้ใช้ตัวเลขประมาณ 8-11 ครับ เพราะเราจะได้ภาพพลุที่คม อย่าไปเปิด 1.4 ถ่ายนะครับ อาจจะได้อะไรเบลอๆ สว่างๆมาแทนพลุเป็นแน่
- iso แล้วแต่สภาพแสงโดยรอบครับ รองถ่ายดูซักรูปละ 5-10 วินาทีดู ว่าเป็นอย่างไร
- speed shutter อันนี้ เราใช้โหมดชัตเตอร์ B ครับ ส่วนมากก็แล้วแต่ความพอใจในรูป ไม่นานมากครับ เพราะพลุจะไปซ้อนกันแล้วไม่สวย
- ส่วนกล้องที่ไม่สามารถตั้งโหมดชัตเตอร์ B ได้นั้น แถมไม่มีสายลั่น ทางผมขอแนะนำ วิธีที่เคยใช้ หาผ้าสีดำไปด้วย คิดว่าถ่ายพลุประมารนี้ พอได้เวลาที่พอ เราก็เอาผ้าดำคลุมไว้ จนกว่าชัตเตอร์จะดีดคืนครับ
แล้วที่เราเห็น ภาพที่พลุหลายๆดอก เค้าเปิดนานๆหรอ ไม่ใช่แน่นอนครับ การเปิดหน้ากล้องนานๆ มีความเสี่ยงที่ภาพเละสูงมาก เท่าที่รู้มา ใช้วิธีรวมภาพครับ เอามาซ้อนทับกัน
แล้วถามว่า จะเริ่มกดชัตเตอร์ตอนไหน ผมจะกดก็ต่อเมื่อได้ยินเสียง (ส่วนมากพลุก็เสียงดัง) เราจะได้ช่วงขาขึ้นไปด้วย ส่วนจะพอแค่ไหน ก็ตามอัธยาศัยกันไป
แค่นี้เอง ง่ายๆใช่ไหมครับ สำหรับการถ่ายพลุ ไม่ว่าคุณจะใช้กล้องอะไร จะตัวใหญ่ตัวเล็ก ใช้วิธีที่ผมแนะนำไป แค่นี้คุณก็สามารถถ่ายภาพพลุสวยๆกันได้แล้ว
ถ้าอ่านแล้วมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่
https://www.facebook.com/Neungkung
ภาพถ่ายที่ดูสวย ไม่จำเป็นต้องโปรคุณก็ทำได้
iPhotoIndy